งานตรวจสอบวิเคราะห์โครงสร้างอาคาร

คานคอนกรีตเสริมเหล็กใต้พื้นห้องน้ำ

งานตรวจสอบวิเคราะห์โครงสร้างอาคาร

ปัจจุบันอาคารประเภทคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีอายุการใช้งานยาวนานอาจมีสภาพเสื่อมโทรมหรือทิ้งร้างมีสภาพไม่ปลอดภัยอาจเกิดอุบัติเหตุได้แก่บุคคลที่เรารักและคนทั่วไปจึงไม่ควร

ปล่อยละเลยควรมีการตรวจสอบแก้ไขโดยวิศวกรที่มีความชำนาญ มีประสบการณ์ในงานก่อสร้าง เพราะองค์อาคารส่วนต่างๆ จะแสดงผลออกมาให้ได้เห็นเช่น คานแอ่นร้าว เสาระเบิดแตกร้าว และพื้นที่หลุดล่อนจนเห็นเหล็กเสริมโผล่ออกมานั่นเป็นสัญญาณว่าควรได้รับการซ่อมแซมอย่างถูกวิธีโดยเร็ว โดยการตรวจสอบนั้นต้องเป็นไปตามมาตรฐานวิศวกรรมแห่งประเทศไทย กรมโยธาและผังเมืองรวมถึงลักษณะรูปแบบใดที่ยอมรับได้ว่าควรซ่อมแซมหรือควรทำลายรื้อสร้างใหม่ดังนั้นควรให้วิศวกรเป็นผู้วินิจฉัยเท่านั้น

การตรวจสอบโครงสร้าง

มีการจำแนกออกเป็น 2 แบบ

1. การตรวจสอบด้วยสายตา เป็นลักษณะของการสำรวจสภาพแวดล้อม ถึงสาเหตุที่เกิดผลกระทบต่อโครงสร้างอาคาร น้ำหนักบรรทุกบนพื้น ผนังที่เกิดการแตกร้าว รูปแบบของการร้าว การทรุดตัวของฐานรากอาคารล้วนบ่งบอกได้ถึงสาเหตุความเสียหายกับอาคารบ้านเรือน

2. การตรวจสอบด้วยอุปกรณ์ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เป็นลักษณะของการใช้เครื่องมือทดสอบเพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยำ มาวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่โครงสร้างชำรุด และเลือกใช้วัสดุแบบใดมาซ่อมแซมอย่างเหมาะสมกับโครงสร้างส่วนนั้น โดยวิศวกรที่มีประสบการณ์เฉพาะทางจะเป็นผู้คำนวณวิเคราะห์ออกแบบ ถึงต้นเหตุและปลายเหตุ เพื่อหาทางแก้ไขต่อไป เทคโนโลยีเครื่องมือทดสอบปัจจุบันมีมากมายหลายชนิด ทำให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ตรวจสอบ เช่น Schmidt hammer, สารฟีนอล์ฟทาลีนอินดิเคเตอร์ (ตรวจสอบค่าความเป็นด่างในคอนกรีต)และเครื่องมือหาค่าซัลเฟตในคอนกรีต ฯลฯ เครื่องมือเหล่านี้นิยมใช้อย่างแพร่หลายในวงการวิศวกรรมทั่วโลก โดยนำผลวิเคราะห์มาหาแนวทางแก้ไขโครงสร้างอาคาร,โรงงาน, ท่าเทียบเรือและในโครงสร้างที่มีสภาพอากาศรุนแรง

Carbonation indicator for concrete

ตัวอย่างเครื่องมือทดสอบคอนกรีตที่ใช้งาน

Rainbow indicator เป็นเครื่องมือที่ใช้งานเรียบร้อยสะดวกในการนำมาใช้งานตรวจสอบค่าความเป็นด่างของคอนกรีตโดยพ่นลงบนพื้นผิวของคอนกรีต แล้วดูสีที่ปรากฏแล้วทำการเทียบค่าสภาพความเป็นด่างในคอนกรีต โดยคอนกรีตที่ดีจะมีค่า pH อยู่ที่ 12-14 หลังการเทียบสีที่น้ำยาทำปฏิกิริยากับผิวคอนกรีตจะขึ้นสีให้เรามองเห็น

เมื่อเทียบกับตารางสีค่า pH จะทำให้ทราบค่าความเป็นกรดด่าง

Schmidt hammer (Horizontal testing)

การตรวจสอบกำลังรับแรงอัดประลัยคอนกรีตโดยวิธีไม่ทำลาย (Non destructive test) การทดสอบคอนกรีตนี้เป็นการทดสอบคอนกรีตแบบไม่ทำลาย ซึ่งเรียกการทดสอบนี้ได้หลายชื่อด้วยกัน เช่น ทดสอบคอนกรีตแบบค้อนกระแทก, ทดสอบรีบาวน์แฮมเมอร์เทส (Rebound Hammer Test) หรือเรียกว่าการทดสอบแบบชมิดท์แฮมเมอร์เทส (Schmidt hammer test) เป็นการทดสอบ เพื่อประเมินค่ากำลังอัดของคอนกรีตในโครงสร้างแบบไม่ทำลาย (Non destructive test) ตามมาตรฐาน ASTM-C805 โดยประเมินค่ากำลังอัดประลัย หรือค่า fc’ ของคอนกรีต โดยอาศัยหลักการวัดค่าดัชนีสะท้อนกลับ (Rebound Number) ที่เกิดจากการกดแกน (Plunger) และกระบอกทดสอบ(Housing)ให้ตั้งฉากกับผิวคอนกรีต แรงกระแทกจากสปริงภายในจะทำให้แกนทดสอบเกิดการสะท้อนกลับมีค่า ดัชนีตั้งแต่ 10 ถึง 100 ขึ้นอยู่กับความสามารถในการดูดซับพลังงานของผิวคอนกรีต ผิวคอนกรีตที่มีความแข็งมากกว่า จะมีค่าดัชนีสะท้อนกลับสูงกว่า

Schmidt hammer (Turn up testing)
เมื่อทราบผลการสะท้อนกลับจึงนำมาเทียบค่าจากกราฟ ซึ่งมีค่าในแนวบน-ล่างและในระนาบแนวนอน ทำให้ทราบค่าความแข็งในคอนกรีตเบื้องต้น
เครื่องมือวัดความชื้น (Moisture test)

เครื่องมือวัดความชื้น เป็นเครื่องมืออีกประเภทหนึ่งที่ถูกนำมาใช้งานตรวจสอบอย่างเลี่ยงไม่ได้เพราะโครงสร้างส่วนใหญ่ที่ชำรุดเกิดจากความชื้นจึงต้องใช้เครื่องมือที่เชื่อถือได้ Wagner concrete moisture meter C555 ของเรามีประสิทธิภาพมากในการประเมินความชื้นในโครงสร้างคอนกรีต เป็นขั้นตอนที่สะดวกเรียบง่าย รวดเร็วในการทราบผลจากความชื้นในโครงสร้าง จากนั้นหาวิธีแก้ไขป้องกันต่อไป

การตรวจสอบสภาพหน้างาน

Marking
การจดบันทึกรายงานผล

ขัดผิวเรียบก่อนใช้งาน Schmidt hammer

อ่านค่า Rebound
บ่อบำบัดน้ำเสีย
pH Testing
สภาพคานคอนกรีตชำรุดเห็นเหล็กเสริม
สภาพเสาแตกร้าวเนื่องจากความชื้น
การตรวจสอบสภาพคานร้าวชำรุด

โครงการ ตรวจสอบอาคารไฟไหม้ โรงงานย่านกระทุ่มแบน